Adicet มรภ.ชม. รวมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ The APEC Workshop on Accommodating Disruptive Technology into RE&EE Policies for Energy Security

CMRU Faculty : วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย | Date and Time : 30/04/2564

             (29 เม.ย.64) ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ The APEC Workshop on Accommodating Disruptive Technology into RE&EE Policies for Energy Security โดยได้เน้นย้ำถึงเป้าหมายพลังงานของเอเปกเอง คือ การลดความเข้มการใช้พลังงานให้ได้ร้อยละ 45 ภายในปี ค.ศ. 2035 และเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนให้ได้สองเท่าภายในปี 2030 พร้อมทั้งขอบคุณผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ที่ให้ความสนใจร่วมการประชุมฯ มากกว่า 90 รายจาก 12 เขตเศรษฐกิจเอเปก แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19


         

           ทั้งนี้การประชุมฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 เมษายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีและการพัฒนานโยบายด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานเพื่อรองรับ Disruptive Technologies ในภาคการผลิตและการส่งจ่ายไฟฟ้า การขนส่ง และอาคาร เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งการประชุมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ Accommodating Disruptive Technology into RE&EE Policies for Energy Security: EWG11 2019A ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก APEC Fund ที่ พพ. ได้ร่วมดำเนินโครงการกับวิทยาลัยเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย (adiCET) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC)

 

           โดยที่ประชุมฯ ได้ให้ความสำคัญกับ Disruptive Technology ในภาคการผลิตและการส่งจ่ายไฟฟ้า ภาคการขนส่ง และภาคอาคาร ซึ่งในวันแรกเป็นการนำเสนอประสบการณ์การดำเนินงานจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินโครงการ/เทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพพลังงาน เช่น โครงการแสนสิริ Block chain ของบริษัท BCPG โครงการ Peer-to-Peer Energy Trading with Net Billing/Metering in Sisaengtham Sandbox Project ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, เทคโนโลยี Pumped Hydro Energy Storage (PHES), เทคโนโลยี Battery electric storage system (BESS), เทคโนโลยี Green Hydrogen ในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เป็นต้น และในการประชุมวันที่สองเป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานใน 3 ภาคส่วนหลักข้างต้น อาทิ นโยบายการส่งเสริม Waste to Energy ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า และนโยบาย R&D ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในการนำของเสียอินทรีย์ (Biowaste) รูปแบบต่างๆ มาผลิตเป็นไฮโดรเจน ประเด็นเรื่อง Carbon Neutrality โดยสหรัฐอเมริกามีการกำหนดนโยบายเพื่อมุ่งสู่ Net Zero emission ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี Carbon Capture และสำหรับเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการจัดตั้งกองทุน Green Fund เพื่อดำเนินการไปสู่ Carbon Neutrality การพัฒนาและส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของหลายเขตเศรษฐกิจเอเปก เป็นต้น


Sustainable Development Goals – SDGs :


CMRU Strategic Plan :
ยกระดับคุณภาพการศึกษา

CMRU Service Plan :
บริหารจัดการเชิงบูรณาการ