CMRU Faculty : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | Date and Time : 5/2/2564
ผศ.ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวถึงโครงการนำขยะมารีไซเคิล ขยะพลาสติก นำมาทำถนนที่จังหวัดกระบี่ บริเวณชายหาดอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตําบล อ่าวนาง อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ว่าโครงการนำขยะพวกพลาสติกมารีไซเคิ่ลเป็นพวกบลอ๊กทางเท้า ทำถนนในประเทศไทยได้เริ่มทำมาประมาณ 9 ปีแล้ว สำหรับสาเหตุที่ได้เริ่มทำที่จังหวัดกระบี่เนื่องมาจากจังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดท่องเที่ยว มีเสียงตอบรับ และมีความร่วมมือในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี
จึงได้ร่วมกับทางอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตําบลอ่าวนาง อําเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ จัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานและหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 50 คน เพื่อเริ่มโครงการทำเป็นถนนเลียบชายหาดระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรเป็นถนนที่ทำมาจากขยะที่ยาวที่สุดในประเทศไทยและเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของโลก ที่นำเอาพลาสติกมาทำถนน เพื่อเป็นการลดปัญหาขยะ ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 45 วันคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน เมษายน 2564 ในปัจจุบันพบว่าในแหล่งท่องเที่ยวเมืองใหญ่จะมีปัญหาขยะเพิ่มขึ้นประมาณ 300 เปอร์เซ็นต์
สำหรับวิธีทำและส่วนผสมในการนำขยะมารีไซเคิลก็จะนำขยะพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ พวกถุงขยะ แก้วพลาสติก ช้อน แก้ว ประเภท PPหรือ PE นำมาผสมกับทรายโดยใช้ความร้อนแล้วใส่ขยะลงไปแล้วอัดให้แน่นแน่นก็เสร็จ โดยอัตราส่วนในการผสมจะต่างกันระหว่างบล๊อกตัวหนอนและทำถนน ถ้าเราจะทำถนนในพื้นที่ 1 ตารางเมตร จะใช้ขยะพลาสติกจำนวน 1 กิโลกรัม ใน 1 กิโลเมตรสามารถกำจัดขยะได้ 1ถึง3ตัน ส่วนบล๊อก 1 ก้อน ใช้ขยะพลาสติก 1 กิโลกรัม ทราย 3 กิโลกรัม แล้วนำมาผสมกันแต่หลักๆคือความร้อนโดยเผาหรือคั่วทรายให้ร้อนแล้วใส่ขยะพลาสติกลงไปแล้วอัดให้แน่นใช้เวลาประมาณ 10 นาทีก็ใช้ได้เลย ส่วนความทนทานของบล๊อกอาจจะน้อยกว่าคอนกรีตอยู่บ้างแต่ก็สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี แต่ถ้านำมาทำถนนสามารถทำให้แข็งแรงมีเสถียรภาพทนทานกว่าถึง 3 เท่าของมาตรฐานถนนทั่วไปและสามารถประหยัดค่าซ่อมบำรุงต่อปีได้เป็นอย่างมาก
Sustainable Development Goals – SDGs :
CMRU Strategic Plan :
สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
CMRU Service Plan :
บริหารจัดการเชิงบูรณาการ