อว. ผลักดัน มรภ. เชียงใหม่ ขับเคลื่อน “การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน”

CMRU Faculty : วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน | Date and Time : 9/11/2564

 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะผู้บริหารของกระทรวง อว. เข้าร่วมการประชุมหารือกับคณะผู้บริหารและอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน นำโดย ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประธานกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จ.เชียงใหม่ และจ.แม่ฮ่องสอน ณ ห้องประชุม Ursa Major ชั้น 2 อาคารสำนักงานใหญ่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จ.เชียงใหม่

2

 

ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้นำเสนอข้อมูล และแนวทางในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน ในการพัฒนาท้องถิ่นบนพื้นฐานของศาสตร์พระราชาเพื่อสร้างความมั่นคงของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่ว่าจะเป็นด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา การพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ตนเอง การพัฒนาครู (คุณภาพ) และการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ สอดคล้องกับหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” พร้อมทั้งนำเสนอ ข้อแนะนำเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยคำนึงถึงกรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1. การพัฒนาแหล่งน้ำในชนบท (Water Resource Development)

2. นโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Utilization)

3. ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)

4. นำใช้เศรษฐกิจพอเพียง (Self-Sufficiency Economy)

5. การท่องเที่ยวและการศึกษาทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนาธรรม (Tourism and Education for Natural Resources and Cultures)

จากนั้น ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำเสนอทิศทางและให้นโยบายการดำเนินการแก่คณะผู้บริหาร และอาจารย์มหาวิทยาลัย รมว.อว. กล่าวตอนหนึ่งว่า กระทรวง อว. พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางมหาวิทยาลัย ในส่วนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์จาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สนับสนุนความรู้ด้านงานวิจัยจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) รวมไปถึงความรู้ด้านชีววิทยาจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และอยากให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน ตระหนักว่าท่านไม่ได้โดดเดี่ยว หากต้องการความช่วยเหลืองทางกระทรวง อว. รวมไปถึงมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็พร้อมที่เข้าไปช่วย

7

            แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดภาคเหนือด้านตะวันตก เมื่อเทียบกับ จ.น่านที่อยู่คนละฝั่ง น่านมีการผสม 2 วัฒนธรรมทั้งล้านช้างและล้านนาเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ ทำให้คนทั้งประเทศอยากที่จะเข้ามาศึกษาวิถีชีวิตของคน จ.น่าน ซึ่งมีความเป็น “น่านนิยม” ทำให้ จ.น่าน มีความมั่นใจในการสร้างจุดแข็งด้านนี้ จึงอยากให้ จ.แม่ฮ่องสอน เติมความเป็น “ไต-ไทนิยม” มากขึ้น เพื่อเพิ่มจุดขายเป็น “ล้านนา-ไต” อยากให้คนในเมืองได้รู้จักวัฒนธรรมไต-ไท ไม่ใช่แค่วัฒนธรรมล้านนาเพียงอย่างเดียว ซึ่งจุดนี้เองจะช่วยให้ทางมหาวิทยาลัยมีพลังมากขึ้น จนกระทั่งสามารถดึงนักศึกษาจากพม่า และไทใหญเข้ามาเรียน โดยมองว่า จ.แม่ฮ่องสอน มีจุดแข็ง อย่าไปเรียนแบบจังหวัดอื่น ๆ จนเกินไป และอยากให้ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด

 


Sustainable Development Goals – SDGs :


CMRU Strategic Plan :
สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

CMRU Service Plan :
การวิจัย