สถาบันวิจัยและพัฒนา มร.ชม. จับมือมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท และสหกรณ์การเกษตรพัฒนา จัดพิธีเปิดงาน “โครงการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารและบรรณจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมฯ”

CMRU Faculty : สถาบันวิจัยและพัฒนา | Date and Time : 20/09/2566

     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท และสหกรณ์การเกษตรพัฒนา จัดพิธีเปิดงาน “โครงการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารและบรรณจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเศรษฐกิจ BCG” เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ณ มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท วัดป่าดาราภิรมย์ พระอารามหลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการแผนงานเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง “ธัชชา” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และหน่วยงานร่วมดำเนินงาน เพื่อดำเนินโครงการการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารและบรรณจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเศรษฐกิจ BCG ตามโครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

     โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รณิดา ปิงเมือง ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ชี้แจง “บทบาทของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินงานขับเคลื่อนธัชชา” และได้รับเกียรติจาก วิทยากรร่วมสัมมนาในหัวข้อ “การบริโภคตามหลักพุทธธรรมในพุทธศาสนา” โดย พระครูวิบูลธรรมพิพัฒน์ เจ้าคณะตำบลแม่สา เจ้าอาวาสวัดสว่างบรรเทิง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สะสอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และนายทรงพล จรรย์สืบศรี กรรมการบริหารมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูสิทธิ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ บรรยายในหัวข้อ “ศาสตร์พระราชากับเศรษฐกิจพอเพียง”

     ในการจัดงานมีกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาบริบทชุมชน เกี่ยวกับวัตถุดิบอาหารในชุมชน อาหารที่มีอยู่ในชุมชน และนำเสนอบริบทของชุมชน ซึ่งมีชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ ตำบลสันป่ายาง ตำบลริมใต้ ตำบลแม่สา ตำบลสะลวง และตำบลเหมืองแก้ว ทั้งนี้มีผู้ช่วยศาสตราจารย์อัตถ์ อัจฉริยะมนตรี คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นผู้ร่วมดำเนินโครงการวิจัย กล่าวแนะนำโครงการพัฒนานวัตกรรมอาหารฟังก์ชันเพื่อชุมชนและการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืนของชุมชน พร้อมมอบหมายงานในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป

???? ติดตามข่าวและภาพกิจกรรมได้ที่ https://bit.ly/3ZsLGDI


Sustainable Development Goals – SDGs :


CMRU Strategic Plan :
สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

CMRU Service Plan :
การวิจัย